ตามกปร.ไปกาญจนบุรี-สุพรรณฯ เยี่ยมโครงการ"พอเพีย
เธซเธเนเธฒ 1 เธเธฒเธ 1
ตามกปร.ไปกาญจนบุรี-สุพรรณฯ เยี่ยมโครงการ"พอเพีย
อ่านเจอแล้ว ก็เลยอยากให้อ่านกันบ้าง คิดว่าเป็นอย่างไร เฮ้อ..."
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) จึงได้มีการจัดคณะสื่อมวลชนสัญจร เพื่อติดตามดูความคืบหน้าของพี่น้องชาวเกษตรกรตามโครงการ "พอเพียงสู่ประโยชน์สุข" โดยได้นำคณะสื่อมวลชนไปสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ได้รับรางวัลชมเชยเกษตรกรดีเด่นด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ จ.กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี
นายเดือน ยิ้มพราย อายุ 66 ปี ชาวบ้านดอนมะกอกหวาน ต.หนองโสน อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ผู้ได้รับรางวัลชมเชยเกษตรกรดีเด่นด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ กล่าวว่า ตนได้เริ่มเข้าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นระยะเวลากว่า 6 ปี ซึ่งใช้ที่ดินทั้งหมด 8 ไร่ เข้ารวมโครงการ แบ่งเป็นบ่อปลา พื้นที่ปลูกผลไม่สวนผสม พื้นที่ปลูกผักสวนครัว นาข้าว และพื้นที่เลี้ยงวัว
โดยต่างจากก่อนหน้านี้ที่ไม่มีบ่อปลา ทำให้พืชผลทางการเกษตรที่เพาะปลูกขาดน้ำ เนื่องจากพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ดินมีสภาพเป็นดินปนทราย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ แต่เมื่อมีบ่อน้ำก็สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ อีกทั้งหลักเศรษฐกิจพอเพียงยังส่งเสริมให้นำภูมิปัญญาชาวบ้านกลับมาใช้ จึงได้มีการนำมูลสัตว์ที่มีอยู่มาใช้เป็นปุ๋ยให้กับดิน เพื่อการปรับสภาพดิน และทำให้พืชผักเจริญเติบโตได้ดีขึ้น พร้อมทั้งยังมีการนำสารจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายมช่วยบป้องกั่นศัตรูพืช เช่น สะเดา เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย และผลผลิตก็ไม่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคอีกด้าย
"ทุกวันนี้ผมใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ซึ่งช่วยลดรายจ่ายลงได้มาก พืชผักผลไม้มีกินมีใช้ในทุกฤดูกาล เหลือกินก็แบ่งปัน นำไปขาย ผมรู้สึกภาคภูมิใจมาก ทั้งๆ ที่เป็นเพียงเกษตรกรคนหนึ่ง แต่ก็ได้รับน้ำพระทัยอันล้นพ้นจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว"
นายชัยยัน อยู่นัน อายุ 44 ปี ชาวบ้านหนองมังกระหร่า ต.ทะเลบก อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ผู้ได้รับรางวัลชมเชยเกษตรกรดีเด่นด้านเกษตรทฤษฎีใหม่อีกท่านหนึ่ง กล่าวว่า การทำการเกษตรในเขต ต.ทะเลบก สมัยก่อนนั้นจะต้องอาศัยนำฝนเป็นหลัก ซึ่งสามารถทำนาได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ช่วงหลังจึงมีการเจาะบ่อบาดาลเพื่อดึงน้ำขึ้นมาใช้ โดยเมื่อใช้น้ำจะต้องมีคนคอยสูบน้ำอยู่ตลอดเวลา แต่แรงงานในครอบครัวของตนมีเพียง 2 คน จึงเป็นการยากที่จะทำการเกษตรด้วยระบบนี้ ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะประดิษฐ์เครื่องสูบน้ำ และระบบจ่ายน้ำด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ และขณะนี้ได้ขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงไปบ้างแล้ว
นายชัยยัน กล่าวอีกว่า ตนได้น้ำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาประยุกต์ใช้ โดยการนำพื้นที่จำนวน 17 ไร่ เข้าร่วนโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ แบ่งเป็นสวนพุททรา มะขามเทศ สะเดา นาข้าว สวนผัก โรงเลี้ยงหมู และบ่อน้ำ
ทั้งนี้ส่งผลให้มีรายได้ตลอดทั้งปี โดยเมื่อหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวพุทรา ก็ยังมีมะขามเทศ ผักสวนครัว และการเลี้ยงหมูรองรับ อีกทั้งพื้นที่ทำนาข้าว ซึ่งอดีตสามารถทำได้เพียงปีละครั้งเพื่อนำไว้บริโภคเองภายในครอบครัว แต่ใน่ปัจจุบันเรามีการสูบน้ำบาลดาลขึ้นมาใช้ มีบ่อพักน้ำ มีระบบจ่ายน้ำที่ดี ทำให้สามารถทำนาได้เพิ่มขึ้น เพื่อนำมาจำหน่ายได้อีกด้วย
"การเดินตามกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ตอนนี้ ผมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันตนและครอบครัวมีความสุขดีตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง"
นางสาวศรีนิตย์ บุญทอง รองเลขาธิการสำนักงาน กปร. กล่าวว่า การที่ทางสำนักงาน กปร. เดินทางตรวจเยี่ยมเกษตรกรในครั้งนี้ เพื่อติดตามผลงาน และเป็นขวัญกำลังใจให้กับเกษตรกร ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีความมีความสุข และมีเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยความพอเพียง โดยทาง กปร. จะมีการติดตามผลงานเป็นระยะเพื่อเป็นการส่งเสริม และช่วยเหลือ เกษตรกรอย่างต่อเนื่องต่อไป
"หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกสาขาอาชีพ ไม่ใช้เฉพาะเพียงทางด้านการเกษตร เพราะเมื่อเราเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างพอเพียง ชีวิตก็จะมีความสุขได้ตามอัตภาพ"
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) จึงได้มีการจัดคณะสื่อมวลชนสัญจร เพื่อติดตามดูความคืบหน้าของพี่น้องชาวเกษตรกรตามโครงการ "พอเพียงสู่ประโยชน์สุข" โดยได้นำคณะสื่อมวลชนไปสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ได้รับรางวัลชมเชยเกษตรกรดีเด่นด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ จ.กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี
นายเดือน ยิ้มพราย อายุ 66 ปี ชาวบ้านดอนมะกอกหวาน ต.หนองโสน อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี ผู้ได้รับรางวัลชมเชยเกษตรกรดีเด่นด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ กล่าวว่า ตนได้เริ่มเข้าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นระยะเวลากว่า 6 ปี ซึ่งใช้ที่ดินทั้งหมด 8 ไร่ เข้ารวมโครงการ แบ่งเป็นบ่อปลา พื้นที่ปลูกผลไม่สวนผสม พื้นที่ปลูกผักสวนครัว นาข้าว และพื้นที่เลี้ยงวัว
โดยต่างจากก่อนหน้านี้ที่ไม่มีบ่อปลา ทำให้พืชผลทางการเกษตรที่เพาะปลูกขาดน้ำ เนื่องจากพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ดินมีสภาพเป็นดินปนทราย ส่งผลให้ไม่ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ แต่เมื่อมีบ่อน้ำก็สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ อีกทั้งหลักเศรษฐกิจพอเพียงยังส่งเสริมให้นำภูมิปัญญาชาวบ้านกลับมาใช้ จึงได้มีการนำมูลสัตว์ที่มีอยู่มาใช้เป็นปุ๋ยให้กับดิน เพื่อการปรับสภาพดิน และทำให้พืชผักเจริญเติบโตได้ดีขึ้น พร้อมทั้งยังมีการนำสารจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายมช่วยบป้องกั่นศัตรูพืช เช่น สะเดา เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย และผลผลิตก็ไม่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคอีกด้าย
"ทุกวันนี้ผมใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ซึ่งช่วยลดรายจ่ายลงได้มาก พืชผักผลไม้มีกินมีใช้ในทุกฤดูกาล เหลือกินก็แบ่งปัน นำไปขาย ผมรู้สึกภาคภูมิใจมาก ทั้งๆ ที่เป็นเพียงเกษตรกรคนหนึ่ง แต่ก็ได้รับน้ำพระทัยอันล้นพ้นจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว"
นายชัยยัน อยู่นัน อายุ 44 ปี ชาวบ้านหนองมังกระหร่า ต.ทะเลบก อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ผู้ได้รับรางวัลชมเชยเกษตรกรดีเด่นด้านเกษตรทฤษฎีใหม่อีกท่านหนึ่ง กล่าวว่า การทำการเกษตรในเขต ต.ทะเลบก สมัยก่อนนั้นจะต้องอาศัยนำฝนเป็นหลัก ซึ่งสามารถทำนาได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ช่วงหลังจึงมีการเจาะบ่อบาดาลเพื่อดึงน้ำขึ้นมาใช้ โดยเมื่อใช้น้ำจะต้องมีคนคอยสูบน้ำอยู่ตลอดเวลา แต่แรงงานในครอบครัวของตนมีเพียง 2 คน จึงเป็นการยากที่จะทำการเกษตรด้วยระบบนี้ ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะประดิษฐ์เครื่องสูบน้ำ และระบบจ่ายน้ำด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ และขณะนี้ได้ขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงไปบ้างแล้ว
นายชัยยัน กล่าวอีกว่า ตนได้น้ำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาประยุกต์ใช้ โดยการนำพื้นที่จำนวน 17 ไร่ เข้าร่วนโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ แบ่งเป็นสวนพุททรา มะขามเทศ สะเดา นาข้าว สวนผัก โรงเลี้ยงหมู และบ่อน้ำ
ทั้งนี้ส่งผลให้มีรายได้ตลอดทั้งปี โดยเมื่อหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวพุทรา ก็ยังมีมะขามเทศ ผักสวนครัว และการเลี้ยงหมูรองรับ อีกทั้งพื้นที่ทำนาข้าว ซึ่งอดีตสามารถทำได้เพียงปีละครั้งเพื่อนำไว้บริโภคเองภายในครอบครัว แต่ใน่ปัจจุบันเรามีการสูบน้ำบาลดาลขึ้นมาใช้ มีบ่อพักน้ำ มีระบบจ่ายน้ำที่ดี ทำให้สามารถทำนาได้เพิ่มขึ้น เพื่อนำมาจำหน่ายได้อีกด้วย
"การเดินตามกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ตอนนี้ ผมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันตนและครอบครัวมีความสุขดีตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง"
นางสาวศรีนิตย์ บุญทอง รองเลขาธิการสำนักงาน กปร. กล่าวว่า การที่ทางสำนักงาน กปร. เดินทางตรวจเยี่ยมเกษตรกรในครั้งนี้ เพื่อติดตามผลงาน และเป็นขวัญกำลังใจให้กับเกษตรกร ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีความมีความสุข และมีเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยความพอเพียง โดยทาง กปร. จะมีการติดตามผลงานเป็นระยะเพื่อเป็นการส่งเสริม และช่วยเหลือ เกษตรกรอย่างต่อเนื่องต่อไป
"หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกสาขาอาชีพ ไม่ใช้เฉพาะเพียงทางด้านการเกษตร เพราะเมื่อเราเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างพอเพียง ชีวิตก็จะมีความสุขได้ตามอัตภาพ"
chak09- เธเธณเธเธงเธเธเนเธญเธเธงเธฒเธก : 3
Registration date : 09/06/2008
เธซเธเนเธฒ 1 เธเธฒเธ 1
Permissions in this forum:
เธเธธเธเนเธกเนเธชเธฒเธกเธฒเธฃเธเธเธดเธกเธเนเธเธญเธ